ภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดก

เดิมประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรกด ภาษีมรดกในส่วนนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ซึ่งใช้บังคับเมื่อครบกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 สิงหาคม 2558 และมีหลักการสำคัญเป็นการเก็บภาษี มรดกจากผู้รับมรดก ส่วนการเก็บภาษีจากการรับให้ทรัพย์สินก่อนเจ้ามรดกตาย อยู่ในรูปภาษีเงินได้  ในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวกับการรับให้เพื่อหารายได้เข้ารัฐและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดกด้วย การจัดเก็บภาษีการรับมรดกนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากรและมีสาระสำคังดังนี้

  1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก และขอบเขตการบังคับใช้ทางกฎหมาย ได้แก่ บุคคลผู้ได้รับมรดก ดังต่อไปนี้
  • บุคคลผุู้มีสัญชาติไทย
  • บุคคลธรรมดาผู้มิได้สัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เช่น คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว โดยมีรอบเวลาการพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี ยื่นคำขอเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรได้
  • บุคคลผู้มิได้สัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

***กรณีที่ผู้ได้รับมรดกเป็นนิติบุคคล ให้ถือว่านิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือจัดตั้งงขึ้นโดยกฎหมายไทย หรือผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในขณะมีสิทธิได้รับมรดก หรือผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของคณะบุคคลซึ่งมีอำนาจบริหารกิจการทั้งหมดเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย

ภาษีมรดกไม่บังคับแก่

  • มรดกที่เจ้ามรดกตายก่อนวันที่พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดกใช้บัคับ
  • มรดกที่คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับจากเจ้ามรดก
  • บุคคลผู้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ หนือหน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการศาสนา  กิจการการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์ หรือบุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญา หรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฎิบัติต่อกันกับนานาประเทศ

2. การคำนวณภาษีการรับมรดก

ผู้ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดกแต่ละราย ไม่ว่าในคราวเดียวกันหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับ หักด้วยหนี้สินอันตกทอดมาจากการรับมรดก มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีจากส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท

มรกดซึ่งต้องเสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้

  • อสังหาริมทรัพย์
  • หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  หมายถึง
  1. ตั๋วเงินคงคลัง
  2. พันธบัตร
  3. ตั๋วเงิน
  4. หุ้น
  5. หุ้นกู้
  6. หน่วยลงทุนอันได้แก่ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม
  7. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
  8. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้
  9. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
  10. ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต กำหนด

 

  • เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
  • ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
  • ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระรากฤษฎีกา

การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินให้ถือตามราคาหรือมูลค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นเป็นมรดก ดังนี้

  • กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์สินของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • กรณีเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ถือเอาราคาของหลักทรัพย์นั้นในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้รับมรดก
  • กรณีอื่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวให้กำหนดเป็นการทั่วไปโดยไม่มีลักษณะเป็นการเฉพาะเจาะจง

อัตราภาษีการรับมรดก

ผุ้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกที่ได้รับ (ในส่วนที่ต้องเสียภาษี) แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพาการีหรือผู้สืบสันดาน เสียภาษีในอัตราลดลงเหลือ ร้อยละ 5