ร้านกาแฟสดเสียภาษีอย่างไร
ปัจจุบันธุรกิจร้านกาแฟเป็นอีกหนึ่งธุรกิจในฝันของใครหลายๆคน ที่ได้รับความนิยมพอๆกับความนิยมดื่มกาแฟ หากเราตัดสินใจจะทำร้านกาแฟสด สิ่งที่ต้องตัดสินใจ และเรื่องที่ต้องทำ เมื่อจะเริ่มทำธุรกิจร้านกาแฟสด มีอะไรบ้างมาดูกันคะ
เมื่อทำธุรกิจร้านกาแฟ เราสามารถจดทะเบียนได้ตามรูปแบบของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มาดูภาษีที่เกี่ยวข้องกับร้านกาแฟ
เริ่มจากการซื้อวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์มีภาษีที่เกี่ยวข้องดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเราต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเราเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเราต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
- ภาษีศุลกากร หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารโดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น
- ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามา
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
หากร้านมีการจ้างลูกจ้าง มีการเช่าสถานที่ตั้งร้านหรือจ่ายซื้อแฟรนไซส์ ต้องมีหน้าที่หัก.ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วย
- การจ้างลูกจ้างในกรณีที่เรามีลูกจ้างเราต้องทำการเสียภาษีเงินได้หัก ร ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากรภายใน วันที่ 7 ของเดือนถัดไป ที่เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส
- การจัดหาสถานที่ตั้ง ผู้เช่าที่เป็นนิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าเช่า มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- การจ่ายค่าแฟรนไซส์ ผู้จ่ายที่เป็นนิติบุคคลเมื่อจ่ายแฟรนไซส์ให้แก่ผู้รับที่เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเจ้าของแฟรนไชส์ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิแฟรนไชส์
เมื่อเริ่มเปิดร้านและมีรายได้ก็ต้องมีภาษีเกิดขึ้นมีรายละเอียดดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แกผุ้ซื้อ
- มีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
- ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภงด. 94 ในเดือน กรกฎาคม – กันยายน สำหรับเงินได้ในเดือน มกราคา – มิถุนายน
- ครั้งที่สอง ยื่นแบบ ภงด. 90 ในเดือนมกราคม – มีนาคมของปีถัดไป สำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม – ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่ายครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
- ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภงด.51 ภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือน ของรอบระยะเวลาบัญชี
- ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชียื่นตามแบบ ภงด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ที่มากรมสรรพากร