ใครมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91 ,ภ.ง.ด.90

ใครมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91 ,ภ.ง.ด.90

คนโสด

  • หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงานเพียงอย่างเดียว (เงินเดือน ค่าจ้าง )จำต้องยื่นแบบแสดงรายการเมื่อมีรายได้เกิน 120,000บาท
  • หากมีเงินได้จาการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีรายได้เกิน 60,000 บาท

คนไม่โสด

  • หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง ) เพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้ 220,000 บาท
  • หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง ) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

รายการลดหย่อน

  1. ลดหย่อนส่วนบุคคล หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  2. ลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หักลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท สำหรับสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสโดยคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน และไม่ได้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษี
  3. ลดหย่อนบุตร หักลดหย่อนจากการเลี้ยงดู บุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ได้คนละ 30,000 บาท หากเข้าเงื่อนไขคือ
  • กรณีเป็นบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
  • กรณีเป็นบุตรตามกฎหมาย สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนบุตร

กรณีมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน

กรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตามกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้

โดยบุตรที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษีได้นั้นต้องมีคุณสมบัติ ประกอบด้วย

  • บุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปีในปีภาษีนั้น
  • บุตรมีอายุระหว่าง 20-25 ปีในปีภาษีนั้น และกำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา
  • บุตรมีอายุ 25 ปีขึ้นไปในปีภาษีนั้น และเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  • บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป (ยกเว้นเงินปันผล) หรือรายได้ที่มีนั้นได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่น บุตรที่อายุไม่เกิน 20 ปี และรับเงินปันผล ซึ่งเงินปันผลนั้นถือว่าเป็นเงินของผู้ปกครองและไม่ถือว่าบุตรมีรายได้
  1. ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา หักลดหย่อนได้กรณีเป็นบิดาและมารดาของตัวเอง และกรณีเป็นบิดาและมารดาของคู่สมรส ซึ่งนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ถ้ามีครบ 4 คน ก็หักทั้ง 4 คนโดยมีเงื่อนไขว่า บิดาและมารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ ต้องให้บิดามารดาออกหนังสือรับรองเลี้ยงดู (ลย.03) ให้กับบุตรที่ขอลดหย่อนภาษีด้วย โดยจะมีเพียงบุตรแค่คนเดียวเท่านั้นที่จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ส่วนบุตรคนอื่นๆ ไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้อีกแล้ว
  2. ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทโดยมีเงื่อนไขคือ บิดามารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป นอกจากนี้บิดาหรือมารดาต้องอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 180 วันในปีภาษีนั้น ขณะที่บุตรที่จะใช้สิทธิต้องเป็นบุตรตามกฎหมายเท่านั้นบุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้ เช่น พี่น้อง 2 คน ซื้อเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดา 15,000 บาทก็จำนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 7,500 บาท และแบบประกันสุขภาพของบิดามารดที่นำมาลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็นความคุ้มครองด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
  3. ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้สูงสุด 60,000 บาท หากเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ หากผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็น บิดา มารดา  บุตร หรือคู่สมรสของผู้มีเงินได้ ก็สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนควบคู่กันได้เลย เช่น บิดาอายุเกิน 60 ปี เป็นผู้พิการ ไม่มีรายได้ สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด (30,000+60,000) เท่ากับ 90,000 [km
  4. ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนด้วยการซื้อประกันชีวิต จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ
  • ประกันชีวิตแบบทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  1. ลดหย่อนค่าประกันสังคม ลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ถูกหักนำส่ง 5% ทุกเดือน โดยลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดปีละ 9,000 บาท (คำนวณจากรายได้สูงสุดที่เดือนละ 15,000 บาท)
  2. ลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน ก็ได้รับยกเว้นด้วย
  3. ลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่เมื่อรวมกับเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข กองทุนครูโรงเรียนเอกชน ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนการออมแห่งชาติแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  4. ลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาทมาลดหย่อนภาษีได้ก่อน โดยส่วนจำนวนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเช่นเดียวกันเมื่อรวมกันทั้งหมดทุกกองทุนแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  5. ลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โดยข้าราชการที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข) เดือนละ 3% โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบเพิ่มให้อีก 3% สามารถนำเงินในส่วนที่เราจ่ายไปมาลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและเมื่อรวมกับกองทุนอื่นๆดังที่กล่าวไปแล้วก็ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  6. ลดหย่อนเงินที่จ่ายเข้ากองทุนครูโรงเรียนเอกชน โดยครู อาจารย์ ที่จ่ายเงินเข้ากองทุนครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและเมื่อรวมกับกองทุนอื่นๆ ดังที่กล่าวไปแล้วก็ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  7. ลดหย่อนเงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ โดยสมาชิกสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเงินสะสมเข้า กบช. ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดปีละ 13,200 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนอื่นๆ ข้างต้นที่กล่าวไปต้องไม่เกินกว่า 500,000 บาท

 

 

ที่มา กรมสรรพากร