ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรได้ตราไว้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2481 และได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2482 เป็นต้นไป เว้นแต้บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 6 ว่าด้วยอากรแสตมป์นั้นใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2482 เป็นต้นไป โดยกฎหมายนี้จะเรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” ซึ่งในประมวลรัษฎากรดังกล่าวแบ่งกฎหมายไว้ดังนี้

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เป็นภาษีอากรประเมินของกรมสรรพากร ภาษีเงินได้ที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาซึ่งมีเงินได้พึงระเมินตามเกณฑ์ประมวลรัษฎากรกำหนดได้ตามมาตรา 40 (1)-(8) โดนยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีหรับปีภาษี (ปีประติทิน)นั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีอากรยังรวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน หรือเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นภาษีอากรประเมินของกรมสรรพากร ที่เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี และรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวให้มีกำหนด 12 เดือน การคำนวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นและให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ปัญหาของเอกสารรายจ่ายมักจะเกิดจากรายจ่ายต้องห้ามมาตรา 65 ตรี ซึ่งเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ เช่น รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รายจ่ายที่ไม่ได้จ่ายจริง รายจ่ายส่วนตัว ให้โดยเสน่หา ค่ารับรอง

  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เป็นวิธีการเสียภาษีได้อีกวิธีหนึ่ง ที่กรมสรรพากรใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจสอบผู้มีเงินได้ว่าได้เสียภาษีเงินได้ครบถ้วนหรือไม่ โดยการกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้จากผู้รับเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 50 มาตรา 3 เตรส มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ โดยมูลค่าที่เพิ่มเป็นมูลค่าของส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนในการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือการให้บริการ ก็คือค่าของผลต่างระหว่างราคาของสินค้าหรือบริการ  ผลิตหรือจำหน่าย กับราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิตหรือในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ กิจการขายสินค้า ให้บริการ และนำเข้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งจะต้องมีรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตั้งแต่ 1,800,000 บาทขึ้นไป เมื่อผุ้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วทำให้กิจการมีภาษีขายและภาษีซื้อเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการ

  • ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  • ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผุ้ประกอกการอื่นเรียกเก็บ และให้ความหมายรวมถึง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เสียเมื่อนำเข้าสินค้า
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้เสีย เนื่องจากได้รับโอนสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ ตามกำหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรตามมาตรา 82/15
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งตามมาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7

ในแต่ละเดือนภาษีผู้ประกอบการมีหน้าที่นำภาษีขายหักออกจากภาษีซื้อ หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องนำจำนวนเงินผลต่างภาษีมูลค่าเพิ่มส่งกรมสรรพากร หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายผู้ประกอบการมีหน้าที่นำจำนวนเงิน ผลต่างภาษีมูลค่าเพิ่มขอคืนเป็นเงินสด หรือเครดิตภาษีขาย

  1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีอากรประเมิน การเสียภาษีประเภทนี้จะเสียภาษีในลักษณะเช่นเดียวกันกับภาษีการค้า โดยการคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆซึ่งภาษีธุรกิจเฉพาะที่กิจการได้จ่ายไปแล้วนำมาถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลราษฎากร มาตรา 65 ทวิ หรือ 65 ตรีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจึงเสียจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

  • การธนาคาร
  • การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  • การรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
  • การรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  • การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน
  • การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากำไร
  • การขายหลักทรัพย์ตามกำหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฏีกา
  1. อากรแสตมป์

เป็นการชำระภาษีอีกวิธีหนึ่งตามประมวลรัษฎากรโดยจัดเก็บจากการกระทำตามลักษณะแห่งตราสาร 28 ผุ้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์

  • บุคคลที่ได้ระบุไว้ในบัญชีอากรแสตมป์
  • กรณีตราสารที่ทำขึ้นนอกประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศเป็นผู้เสียภาษีอากรแสตมป์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น
  • ถ้าตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน ไม่ได้ปิดแสตมป์ บริบูรณ์ ผุ้รับตั๋วจะเสียอากรและให้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือหักค่าอากรจากเงินที่ได้ชำระ
  • อาจให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้