หนี้สงสัยจะสูญ
หนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง การประมาณหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้จากลูกหนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามบัญชีแต่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากร
ตามมาตรฐานการบัญชี กำหนดให้กิจการมียอดลูกหนี้ ณ วันที่ในงบดุล (วันปิดงวด) แล้วให้ประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้เพื่อไม่ให้ลูกหนี้ในงบดุลมีมูลค่าสูงเกินไปและให้ประมาณเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพื่อนำไปลดยอดลูกหนี้ โดยบันทึกรายการดังนี้
- เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ XXX รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
- เครดิต ค่าเพื่อหนี้สงสัยจะสูญ XXX รายการปรับมูลค่าลูกหนี้ในงบดุล
การตั้งประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้นจะประมาณการได้ 2 วิธี คือ
- ประมาณการยอดขาย จะประมาณจากยอดขายรวมหรือยอดขายเชื่อก็ได้ เมื่อประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายแล้ว ได้ยอดขายเท่าไหร่ก็จะบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเท่านั้นเลยไม่ต้องพิจารณายอดยกมาจากงวดบัญชีก่อน
- ประมาณการจากยอดลูกหนี้ จะประมาณจากยอดลูกหนี้รวมในวันสิ้นงวด หรือลูกหนี้ถั่วเฉลี่ยต้นปีและปลายปีหรือประมาณจากลูกหนี้แต่ละรายตามอายุของหนี้ก็ได้ โดยลูกหนี้ที่ค้างชำระนานก็จะประมาณการเก็บหนี้ไม่ได้ในอัตราที่สูงกว่าลูกหนี้ที่ค้างชำระสั้น เมื่อคำนวณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้เท่าไหร่แล้วต้องนำยอดยกมาของบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงวดที่แล้วมาพิจารณาเพิ่มเติมโดยจะบันทึกบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงวดนี้เพิ่มหรือลดให้เท่ากับยอดที่ต้องหารในงวดบัญชี
ตัวอย่าง ในวันสิ้นงวด 31 ธันวาคม 255 บริษัทมียอดลูกหนี้คงเหลือ 7,000,000 บาท โดยบริษัทได้ประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ 1% ของยอดลูกหนี้ เมื่อต้นปีมียอดบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมา 50,000 บาท ดังนั้นต้องบันทึกปรับปรุงเพิ่มเติมอีก 20,000 บาท เพื่อให้ได้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ต้องการในงวดบัญชีนี้
- เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ 20,000
- เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 20,000
ตัวอย่าง ในวันสิ้นงวด 31 ธันวาคม 255 บริษัทมียอดลูกหนี้คงเหลือ 7,000,000 บาท โดยบริษัทได้ประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ 1% ของยอดลูกหนี้ เมื่อต้นปีมียอดบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมา 92,000 บาท ดังนั้นต้องบันทึกปรับปรุงลดลงอีก 22,000 บาท เพื่อให้ได้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ต้องการในงวดบัญชีนี้
- เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 22,000
- เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ 22,000
ตัวอย่าง การบันทึกรายการเกี่ยวกับลูกหนี้ที่เก็บเงินไม่ได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
- กรณีที่กิจการได้ติดตามทวงถามหนี้จนถึงที่สิ้นสุดแล้วและเข้าเงื่อนไขที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร เช่น ลูกหนี้ล้มละลาย
- เดบิต หนี้สูญ XXX
- เครดิต ลูกหนี้ XXX
- เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
- เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ XXX
หากต่อมาภายหลังจากที่บันทึกบัญชีกรณีที่ติดตามทวงถามหนี้จนถึงที่สุดแล้วแต่สุดท้ายลูกหนี้มาชำระหนี้คืนบันทึกรายการดังนี้
- เดบิต ลูกหนี้ XXX
- เครดิต หนี้สูญได้รับคืน XXX
- เดบิต เงินสด XXX
- เครดิต ลูกหนี้ XXX
- กรณีที่คาดว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้แน่นอนแต่ยังตัดจำหน่ายหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายตามกฎหมายภาษีอากรไม่ได้
- เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ XXX
- เครดิต ลูกหนี้ XXX
หากต่อมาภายหลังจากที่บันทึกกรณีที่ติดตามทวงหนี้จนถึงที่สุดแล้วแต่สุดท้ายลูกหนี้มาชำระหนี้คืนบันทึกรายการดังนี้
- เดบิต ลูกหนี้ XXX
- เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ XXX
- เดบิต เงินสด XXX
- เครดิต ลูกหนี้ XXX
ที่มากรมสรรพากร