โดยกฎหมายกำหนดให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ให้บริการได้รับชำระค่าบริการ เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีหรือได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการก็ให้ความรับผิดชอบเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ดังนั้น หากผู้ประกอบการรายใดมีรายรับจากการประกอบกิจการไม่เกิน 1.8 ล้าน ในวันที่ได้มีการให้บริการแก่ลูกค้าโดยลูกค้าซึ่งเป็นผู้รับบริการยังไม่ได้จ่ายเงินค่าบริการดังกล่าวให้แก่ผู้ให้บริการทันที ที่มีการรับบริการ การพิจารณาว่าผู้ให้บริการมีรายรับเกิน 1.8 ล้านต่อปี และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรหรือไม่ ให้ดูวันใดวันที่มีการให้บริการหรือวันที่ให้บริการได้รับชำระราคาค่าบริการ คำตอบคือ วันที่มีการรับชำระราคาค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น
ตัวอย่าง บริษัทประกอบกิจการทางบัญชีได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในปี 2559 บริษัทฯบันทึกบัญชีรับรู้รายได้และรายจ่ายตามเกณฑ์คงค้างและเกณฑ์สิทธิเพื่อการคำนวณกำไรสุทธิ ในปี 2559 บริษัท ได้บันทึกรายได้จากการให้บริการทางบัญชีเป็นเงินทั้งสิ้น 470,850 บาท แต่บริษัท ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้ 62,000 บาท จึงบันทึกบัญชีตั้งค้างไว้ และปี 2560 บริษัทฯ บันทึกรายได้ทางการให้บริการทางบัญชี จำนวน 1,250,320 บาท ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้เป็นจำนวนเงิน 96,000 บาท บริษัทบันทึกบัญชีตั้งค้างไว้เช่นกัน บริษัทจึงมีรายรับในปี 2559 และ ปี 2560 ไม่เกิน 1,800,000 บาท
ต่อมาปี 2561 บริษัท มีรายได้จากการให้บริการทางบัญชีเป็นเงิน 1,790,000 บาท ได้รับชำระหนี้ค้างชำระของปี 2560 เป็นจำนวนเงิน 96,000 บาท บริษัทจึงมีรายรับในปี 2561 เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ตามพระราชกฤษฏีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คำว่า “ปี” พิจารณาจากรอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคลที่ได้บันทึกบัญชีหนี้ค้างชำระในปี 2559 และปี 2560ซึ่งได้ลงบันทึกบัญชีแล้วไม่ใช่รายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2561ดังนั้น บริษัท จึงมีรายได้ในปี 2561 ไม่เกิน 1,800,000 บาท บริษัทจึงไม่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
กรณีดังกล่าว บริษัท มีความเข้าใจไม่ถูกต้อง เนื่องจากบริษัทประกอบกิจการให้บริการทางบัญชีซึ่งเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของและถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจาการให้บริการเกิดขึ้นเมื่อได้ชำระค่าบริการเว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีหรือได้ใช้บริการไม่ว่าด้วยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำการนั้นๆด้วยมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากรดังนั้นเมื่อบริษัท มีการให้บริการทางบัญชี ปี 2559 ,2560 แต่บริษัทได้รับชำระค่าบริการในปี 2561 รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 158,000 บาท เมื่อรวมกับรายรับที่เกิดจากการให้บริการในปี 2561 จำนวน 1,790,200 บาท ซึ่งทำให้บริษัท มีรายรับ 1,948,200 บาทเกินกว่า 1.8 ล้านบาทอันเป็นมูลค่าภาษีของธุรกิจขนาดย่อมตามมาตรา 81/1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 และต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ตามมาตรา 85/1