ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้ไม่ว่าประเภทใด ชนิดใด ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นให้แล้วก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี
หรือคือ ภาษีที่จัดเก็บจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโดยปกติจัดเก็บเป็นรายปีรายได้ที่ได้รับในปีใดๆ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการด้วยตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป ผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบ เสียภาษีตอนครึ่งปีสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงช่วงครึ่งปีแรกเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายเพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีด้วย
ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตามกฎหมายประมวลรัษฎากร กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี โดยได้กำหนดหน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ได้แก่
- บุคคลธรรมดา
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล
- คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีหลักการจัดเก็บ แบ่งเป็น 2 หลักการได้แก่
-
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทำในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
-
หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule) สำหรับผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยรวมกันถึง 180 วันในปีภาษีใดและมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และผู้มีเงินได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยภายในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้นั้น
ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีเงินได้ซึ่งเกิดจากหน้าที่งานที่ทำ กิจการที่ทำหรือเนื่องจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงิน ทรัพย์สินประโยชน์อื่นใดที่คำนวณได้เป็นตัวเงิน เงินภาษีที่ผู้จ่ายออกแทน หรือเครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท ได้แก่
- เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จบำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน ฯลฯ
- เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ส่วนลด เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส ฯลฯ
- เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรมนิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
- เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
- เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หรือการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
- เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้
- เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง
- เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเงินได้จากการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในเงินประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7
หักค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง
ประเภทเงินได้บุคคลธรรมดามีทั้งหมด 8 ประเภท แต่ละประเภทหักค่าใช้จ่ายดังนี้
ความรับผิดกรณีไม่ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
www.pornkawinthip.com