ก่อนอื่นต้องขออ้างอิง แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ที่อยู่ระหว่างการจัดทำ ทำให้เกิดร่างกฎหมาย ที่ว่า…สถาบันการเงิน ต้องรายงานข้อมูล ของบุคคลที่มี “ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ” ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ในเดือน มี.ค. 2563
– ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ ได้แก่
1. บุคคลที่ได้รับฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 3,000 ครั้ง (จำนวนเงินน้อยแต่ถี่)
2. บุคคลที่ได้รับฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 200 ครั้ง และยอดรวม 2,000,000 บาทขึ้นไป (เงินโอนต่อครั้งมีจำนวนมาก)
– ธนาคารต้องรายงาน “ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ” ให้กับหน่วยงานดังต่อไปนี้
1. กรมสรรพากร เพื่อติดตามภาษีจากกลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษี หรือเสียภาษีไม่ครบจำนวน
2. หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและธุรกิจมืด
– บทลงโทษต่อสถาบันการเงิน
1. กรณีไม่รายงานข้อมูล จะถูกปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน
2. กรณีนำข้อมูลไปเปิดเผย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล
– บทลงโทษหนักขนาดนี้สถาบันการเงินต้องรายงานอย่างครบถ้วนแน่นอน !
– เริ่มใช้เมื่อไหร่ ปัจจุบันนี้ยังเป็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประมวลรัษฎากรอยู่นะคะ จะเริ่มใช้จริงปี 2563
– นั่นหมายความว่า… รายได้รับ/โอนเงินจากวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2562 ที่เข้าเกณฑ์ จะต้องถูกตรวจสอบในปี 2563
– นั่นหมายความว่าทุกธุรกรรม ธ.จะตรวจเช็ค และหากใครเป็นธุรกรรมลักษณะพิเศษ ธ.จะแจ้งกรมสรรพกรให้มาเก็บภาษี และแจ้งหน่วยงามที่เกี่ยวข้องให้ตรวจสอบที่มาที่ไปของเงิน