ลักษณะของค่ารับรอง
- ต้องเป็นกรณีจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และผู้ถูกรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างจะมีส่วนเข้าร่วมในการนั้น
- เป็นค่าใช้จ่ายอันอาจอำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา
- กรณีให้เป็นสิ่งของต้องมีมูลค่าไม่เกิน 2,000 บาท/คน/คราว นอกจากนี้การให้สิ่งของเป็นค่ารับรองหรือการบริการอาจต้องเสีย VAT โดยถือเป็นการขายสินค้า เนื่องจาก กม. กำหนดให้ค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้
- ต้องมีหลักฐานการจ่าย และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในกิจการ ค่ารับรองดังกล่าวให้รวมค่า VAT ด้วย
จำนวนรายจ่ายค่ารับรอง
- หักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่จ่ายจริง
- ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายก่อนหักรายจ่าย เปรียบเทียบ กับทุนจดทะเบียนที่ที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดมากกว่า
ให้เลือกจำนวนใดที่มากกว่า X ร้อยละ 0.3 แต่ กม.กำหนดให้หักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
- หักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
หลักฐานการจ่ายค่ารับรอง
- ต้องมีกรรมการหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง
- ต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรอง
ตัวอย่างค่ารับรอง
ถาม บริษัทฯ พาลูกค้าไปเล่นกอล์ฟถือเป็นค่ารับรองหรือไม่
ตอบ ถือเป็นค่ารับรองได้ แต่ต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาท เนื่องจากเป็นการรับรองลูกค้าอันจำเป็นตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป