การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
1.1การเลิกจ้างกรณีปกติ
การเลิกจ้าง หมายความว่า
- การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด
- การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
การจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปีให้จ่าย 1 เดือน ของอัตราค่าจ้างงวดสุดท้าย
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่า 3 เดือนของอัตราค่าจ้างงวดสุดท้าย
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 6 เดือนของอัตราค่าจ้างงวดสุดท้าย
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 8 เดือนของอัตราค่าจ้างงวดสุดท้าย
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 8 เดือนของอัตราค่าจ้างงวดสุดท้าย
ข้อยกเว้นในการไม่จ่ายค่าชดเชย
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้
- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันควร
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
การบอกเลิกสัญญาจ้าง
- การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาจ้าง โดยนายจ้างและลูกจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
- การจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบอย่างน้อยหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง
ลูกจ้างทดลองงานถือเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา
1.2การเลิกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน การะบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง นายจ้างต้องปฎิบัติดังนี้
- แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้างให้พนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
- จ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มจากค่าชดเชยปกติในกรณีที่ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกิน 6 ปี ขึ้นไปโดยจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วัน ต่อการทำงานครบ 1 ปี ทั้งนี้ค่าชดเชยพิเศษดังกล่าวจะไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน
กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบ 1 ปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่า 180 วัน ให้นับเป็นการทำงานครบ 1 ปี
1.3การย้ายสถานประกอบการกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น
กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้าง นายจ้างต้องปฎิบัติดังนี้
- นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันย้ายสถานประกอบการ
- หากลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างหรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการ